นายกสภา ฯ เป็นประธานเปิดงาน Digital KU Day : Next Step towards a digital University

KAS_9357_2          วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 8.45 น. ณ ห้อง Auditorium ชั้น 3 สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน Digital KU Day : Next Step towards a digital University ประกาศตัวเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอลอย่างเป็นทางการ พร้อมเป็นผู้นำแห่งโลกดิจิตอล ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (Super Infra) ข้อมูลเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยและคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Super Data) และ นวัตกรรมการบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  ที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่ ในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล (Super Service) เพื่อเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งผู้คน ข่าวสาร การบริการ และสังคม ให้มีการสื่อสารกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น ทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยมี รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน รักษาการแทนอธิการบดี ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ รศ.ประดนเดช นีละคุปต์ ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต ร่วมงาน ทั้งนี้ รูปแบบการจัดงาน ประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษ การบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการศึกษาในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล นิทรรศการนวัตกรรมการบริการยุคใหม่ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา อาทิ ต้นไม้พูดได้ อาคารพูดได้ ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ “เน้นระบบเปิด” ให้ทุกคนเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี ระบบการอ่านข้อมูลจากบัตรประชาชน บริการบุคคลที่มาติดต่อกับมหาวิทยาลัยให้เข้าถึงระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัยแบบชั่วคราว ภายใต้การขับเคลื่อนของฮีโร่จอมพลัง Super Infra Super Data และ Super Services ซึ่งปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในงานนี้ด้วย
KAS_9317_2

          รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายใต้การบริหารงานเชิงระบบ KU ++ Super Plus และก้าวไปสู่การเป็น 6U ของนโยบายสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย Green University, Digital University, Research University, World Class University, Social Responsibility University และ Happiness University ในวันนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ประกาศทิศทางความพร้อมทางด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอล แก่ประชาคมเกษตรศาสตร์ 1 ถึงเกษตรศาสตร์ 1,000,000 ซึ่งก็คือประชาชนทั่วไป อย่างเป็นทางการ โดยมีสำนักบริการคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ภายใต้ความพร้อมด้านไอทีที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่  Super Infra โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที Super Data ข้อมูลเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัย และคลังข้อมูลขนาดใหญ่ และ Super Service นวัตกรรมการบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  ที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่ในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล
KAS_9304_2

          รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ผลงานด้านไอทีของมหาวิทยาลัย ทั้ง Super Data , Super Infra  และ Super Services ที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการแก่ประชาคม มก.และประชาชน รวมถึงผลงานที่จะมีความร่วมมือเพื่อพัฒนาต่อยอดในอนาคต จะส่งผลให้เรามีการสื่อสารกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น ทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความพร้อมและศักยภาพทางด้านไอทีอย่างชัดเจน ในการเดินหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่ทศวรรษที่ 8 กับการเป็นมหาวิทยาลัยผู้นำแห่งโลกดิจิตอล เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้แก่สังคมประเทศชาติ

KAS_9367_2

        ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาส รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ กล่าวว่า ทั่วโลกก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล และสิ่งสำคัญคือทุกอย่างเชื่อมโยงเข้าหากันหมด นี่เป็นการประกาศตัวครั้งแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการขับเคลื่อนสู่ Digital University โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขับเคลื่อนนโยบาย 6 U ภายใต้การบริหารเชิงระบบ KU ++ Super Plus มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีชื่อเสียงเรื่อง Super Infra โครงสร้างพื้นฐานทางไอที ทั้ง Internet wireless, Internet Hi-speed, Data Center, Fiber Optic, Computing Super Infra Research Collaboration สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุน Super Data คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติ  มีความรู้อุดมสมบูรณ์หลากหลาย ดังนั้น การรวบรวม เชื่อมโยง และเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่สังคมในการนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ จากสองส่วนข้างต้น คือ Super Infra และ Super Data นำมาสู่ Super Services นวัตกรรมการบริการที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่ ทั้งแอบพลิเคชั่นที่ให้ข้อมูลความรู้ต่างๆ แก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ให้เข้าถึงทุกที่ ทุกเวลา

KAS_9294_2

          รศ.ประดนเดช นีละคุปต์ ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยดิจิตอล เราจะใช้ ICT เป็นตัวนำ ซึ่งมี 3 ส่วน เริ่มจาก Super Infra โครงสร้างพื้นฐาน เรื่องของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง Super Data ระบบฐานข้อมูล เอาข้อมูลมาช่วยเรื่องบริหารจัดการองค์กร Super Services มีบริการที่ทันสมัย คล่องตัว สะดวก ตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจ มีดังนี้

KAS_9336_2

ในส่วน Super Infra

Newton Cluster นำเทคโนโลยี HPC-Infra มาใช้ ซึ่งเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับอาจารย์ และนักวิจัยใช้ดำเนินงานเกี่ยวกับการประมวลผลและจัดการข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลระบบตรวจสอบสถานะการดำเนินงานได้ (newton.ku.ac.th) เป็นเครือข่ายความร่วมมือจากสำนักบริการคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์  บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด

ในส่วนของ Super Data

KU Smart Life ระบบสารสนเทศใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคล รายงานสถิติของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ นิสิต บุคลากร งบประมาณ และวิจัย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร นำเสนอในรูปแบบของกราฟที่หลากหลาย เรียกใช้งานได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นเครือข่ายความร่วมมือจากหลายฝ่าย คือ กองการเจ้าหน้าที่ กองแผนงาน กองคลัง สำนักทะเบียนและประมวลผล และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในส่วนของ Super Services

Smart Data Knowledge (KU Augmented Reality Knowledge) นำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) มาใช้ ทำให้ได้ประสบการณ์จากสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ทั้งข้อความ ภาพ เสียง วีดิโอ หรือการบอกตำแหน่งด้วย GPS ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ สถานที่ สิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะปรากฏขึ้นทันทีที่เราอยากรู้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ และแบ่งปันทุกเวลา ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุด และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

KU Open Education Resource นำเทคโนโลยี Apple for Education (iTunes U) มาใช้สร้างระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ที่เน้น “ระบบเปิด” ทุกคนเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี และเข้าถึงได้พร้อมกัน เข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ทางออนไลน์ E-Learning เข้าถึงองค์ความรู้อย่างไร้ขีดจำกัด เป็นประโยชน์สำหรับคณาจารย์ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบุคคลทั่วไป เป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ นิสิต สำนักหอสมุด สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. และ บริษัท S.P.V.I จำกัด (มหาชน) / UStore KU

Inside KU เป็น Mobile Application บนระบบปฏิบัติการ Android  อำนวยความสะดวกให้นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของมหาวิทยาลัย อาทิ ข้อมูลคณะ หน่วยงาน แผนที่ตั้งอาคาร สถานที่สำคัญ พิพิธภัณฑ์ เปิดตัวครั้งแรกในงานอ้อมกอดนนทรี 75 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 มียอด Download 1 สัปดาห์จำนวน 1,343 คน และสามารถ Download จาก Play Store สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS อยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นเครือข่ายความร่วมมือจากสำนักหอสมุด กองยานพาหนะ สำนักงานทรัพย์สินฯ กองกิจการนิสิต สำนักการกีฬา และงานประชาสัมพันธ์ มก.

Smart Card – Wifi Account for Guest

ระบบอ่านข้อมูลจากบัตรประชาชน เพื่อให้บริการบัญชีผู้ใช้งานสำหรับเข้าถึงระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักบริการคอมพิวเตอร์ กับสำนักงานทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อำนวยความสะดวกบุคคลทั่วไปที่ติดต่อกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย เป็นบัญชีผู้ใช้งานเครือข่ายนนทรีแบบชั่วคราวมีกำหนดระยะเวลา ทำให้บุคคลทั่วไปที่ติดต่อกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย สืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ

Smart Student ID Card for Booking (Super Services)

นำเทคโนโลยี RFID มาใช้ในระบบจองห้องศึกษากลุ่มย่อยของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ ใช้บัตรประจำตัวนิสิตสแกนที่เครื่อง Reader เพื่อ Login เข้าสู่ระบบ แสดงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้บริการระบบจองห้องศึกษากลุ่มย่อย เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และถูกต้อง สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสำนักทะเบียนและประมวลผล และบัณฑิตวิทยาลัย

KU Trip (http://kutrip.mikelab.net/) (Super Data, Super Service) ระบบจัดอันดับโรงแรมของไทยอ้างอิงตามความคิดเห็นของผู้ใช้ พัฒนาต้นแบบระบบวิเคราะห์และสรุปข้อมูลความคิดเห็น บทวิจารณ์ที่กล่าวถึงโรงแรมในประเทศไทย นำเสนอเป็นผลสรุปการจัดเรียงลำดับโรงแรมเหล่านั้นในแง่มุมต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยตรงในการตัดสินใจที่ง่ายขึ้น ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นเครือข่ายความร่วมมือ Massive Information Engineering Laboratory (MIKE Lab) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          นี่คือบทเริ่มต้นสำหรับการเป็น Digital University ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังมีก้าวต่อไป เพื่อขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาไทยให้ก้าวไกลในเวทีโลกได้เต็มความภาคภูมิ … ติดตาม Digital University มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์